วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไทยกับพลังงาน 29/11/2550



          เมื่อโลกใบนี้จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานหลักเป็น น้ำมัน  ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ว่าน้ำมันจะเป็นปัจจัยหลักอันดับต้นๆที่มีผลต่อการพัฒนาของประเทศต่างๆในโลก
                อย่างที่ทราบน้ำมันเป็นทรัพยาการธรรมชาติ ที่จัดอยู่ในประเภท ใช้แล้วหมดไป  ไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้อีก  ดังนั้นเมื่อผู้คนบนโลก มีการใช้พลังงานกันอย่างฟุ่มเฟือย  ไม่มีการประหยัดและใช้อย่างเหมาะสม ดังนั้นปริมาณน้ำมันที่อยู่ใต้พื้นโลก ก็ร่อยหรอ และลดลงไปเรื่อยๆ จนมีผู้คาดการณ์ว่าถ้าประชากรของโลก 6 พันล้านคน ยังคงใช้น้ำมันกันอย่างฟุ่มเฟื่อย เท่ากับปัจจุบัน
                ในอีก 50 ปีข้างหน้า เราอาจจะไม่มีน้ำมันเหลืออยู่บนโลกใบนี้อีกต่อไป
                ดังนั้น จึงมีการเสาะพลังงานในรูปแบบใหม่ๆ มาเพื่อทดแทน น้ำมัน  เผื่อที่จะหาทางแก้ปัญหานี้ในอนาคต  อย่างไรก็ตามพลังงานาหลักที่ยังใช้อยู่ในปัจจุปันนี้อาจที่เห็นผู้คนนิยมมาใช้ก็คือ น้ำมันและถ่ายหิน  ซึ่งถือเป็นพลังงานที่ไม่สะอาด และก่อให้เกิดมลพิษต่อโลก
                ดังจะเห็นได้ในปัจจุบันที่มีการหยิบยก ปัญหาโลกร้อน เข้ามาพูดในเวทีนานาชาติ เพราะปัญหาโลกร้อนนั้น เริ่มเข้ามากระทบกับวิถีชีวิตผู้คนบนโลกเรื่อยๆ และสร้างความเดือดร้อนและความเสียหายอย่างมากมายมหาศาล
                ประเทศที่สร้างมลพิษมากที่สุดนั้นก็คือยักษืใหญ่อย่างประเทศสหรัฐอเมริการ เนื่องจากเป็นประเทศอุตสาหกรรม  ดังนั้นมลภาวะที่เป็นพิษ อันเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมนั้นในแต่ละปีมีมากจนกราฟบ่งบอกว่า ลุงแซมสร้างมลพิษสูงกว่าประเทศอื่นๆเกือบ 2 เท่า
                แต่อเมริกาเอง ที่ผ่านมาก็พยายามบ่ายเบี่ยงที่จะพูดถึงปัญหานี้ เพราะกระทบต่อนักลงทุนทั้งหลาย ที่เบื้องหลังก็เป็นฐานเงินทุนสำหรับนักการเมืองของอเมริกันชน
                รองลงมาก็คือยักษ์ใหญ่ คนใหม่ของโลก ประเทศจีน จีนเองเหมือนกับยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับใหล  พอจีนแง้มประตูเปิดประเทศมากขึ้น ความเจริญต่างๆก็ไหลเท เข้ามาลงทุนในประเทศนี้กันอย่างครึกโครม แถมเมืองจีนนั้นพลังงานหลักที่ใช้ผลิตไฟฟ้า นั้นจะเป็นพลังงานที่ได้มาจากถ่านหิน  ซึ่งมีมากมายอยู่ใต้แผ่นดินจีน  ดังนั้นมลพิษที่ก่อเกิดในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานี้ มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลก
                เหมือนกับระบบลูกโซ่ ที่มีความผูกผันกัน  เมื่อมนุษย์ทำร้ายธรรมชาติ  ในที่สุด ธรรมชาติก็หันมาเล่นงานมนุษย์เช่นกัน  ปรากฏการณ์โลกร้อนที่ผ่านมา อุณหภูมิบนโลกสูงขึ้น แภทภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพายุและดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น
                เฮอร์ริเคน แคทรีน่าที่พัดกระหน่ำตอนใต้ของอเมริกา จนบ้านเมืองทั้งเมืองพังยับ ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก  ในขณะเดียวกันก็ทำลายแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ตั้งอยู่ในอ่าวเม็กซิโกไปด้วย
                น้ำมั้นที่ผู้คนบนโลกใช้กันทุกวันนี้ ส่วนใหญุ่ขุดขึ้นมาจากตะวันออกกลางใต้ผืนทะเลทรายและความแห้งแล้ง  อีกส่วนหนึ่งขุดขึ้นมากจากใต้ทะเล  เมื่อแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลมีความเสี่ยงที่จะเสียหายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากภัยธรรมชาติ  แถมดินแดนตะวันออกกลางที่เป็นแหล่งใหญ่ก็เกิดภาวะสงคราม และสงครามกองโจร ก็ทำให้ปริมาณการผลิตนั้นลดต่ำกว่าเดิม
                เมื่อดีมานด์ มีมากกว่าซัพพลาย ก็ไม่ต้องแปลกใจว่าราคาน้ำมั้นจะเริ่มขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมในอดีตที่อยู่ประมาณ 23-24 เหรียญต่อบาร์เรล  ตอนนี้ก็พุ่งไปจนคาดการณ์ไม่ได้  นักวิเคราะห์หลายคนพยากรณ์เอาไว้ว่า ในชีวิตนี้ เราๆท่านๆอาจจะเห็นน้ำมันราคาทะลุ 100 เหรียญต่อบาร์เรลก็เป็นได้
                ประเทศไทยนั้นได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ เนื่องจากเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมัน  ร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจจะมีผลิตได้นิดหน่อยจากบ่อน้ำมันที่อำเภอฝาง แต่ก็น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้ของผู้คนทั้งประเทศ
                จากการที่ต้องนำเข้าน้ำมันนี่เอง  เมื่อราคาน้ำมันขยับตัวเมื่อไหร่ ประเทศไทยก็ต้องบาดเจ็บตามไปด้วยทุกครั้ง  โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้น้ำมัน เป็นฐานในการผลิตสินค้าและขนส่ง
                ดังนั้น ผู้ประกอบการทั้งหลายก็มักจะผลักภาระนี้ไปสู่มือผู้บริโภค เพราะสามารถอ้างได้ว่า จำเป็นต้องขึ้นราคาตามภาวะน้ำมันแพง  แต่ในการขึ้นราคาของผู้ผลิตนั้นส่วนใหญ่เป็นการขึ้นราคาแบบเอาเปรียบผู้บริโภคอยู่เสมอ
                เช่นน้ำมันขึ้นราคา 90 สตางค์ อาจจะทำให้ต้นทุนผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 25 สตางค์ต่อชิ้น  และเมื่อผู้ผลิตอ้างเหตุน้ำมันแพง มาเป็นข้ออ้างในการขอขึ้นราคาสินค้า ราคากลับเพิ่มขึ้นหลายเท่า เช่นสินค้าราคา 10 บาท เมื่อน้ำมันแพง ต้นทุนเพิ่มขึ้นชื้นละ 25 สตางค์ แต่ผู้ผลิตกลับขึ้นราคาเป็นชิ้นละ 12 -15 บาท
                ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างมาก  ในขณะเดียวกันเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมของโลก ก็มักจะบีบ และล๊อบบี้ โอเปคให้มีการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลก 
                เมื่อกำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้น  ราคาก็จะต่ำลงกว่าเดิม เมื่อราคาน้ำมันลดต่ำลง ต้นทุนของผู้ผลิตทั้งหลายก็ลดต่ำลงตามไปด้วย  แต่จะสังเกตว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ผลิตอ้างราคาน้ำมันเพื่อขอขึ้นราคาสินค้า แต่เมื่อราคาน้ำมันลดลง ไม่มีผู้ผลิตรายใดยอมลดราคาสินค้าตามราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหว  ส่วนใหญ่จะตรึงราคาอยู่อย่างนั้นเพื่อรอให้เกิดภาวะน้ำมันแพงรอบใหม่ และถือโอกาสขึ้นราคาอีกครั้งหนึ่ง
                รัฐบาลเอง ในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแลสินค้าอุปโภค บริโภค จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้  ต้องทำตัวให้เป็นกลางระหว่าง ผู้ผลิตและผู้บริโภค ในกรณีที่เกิดผลกระทบเกี่ยวกับราคาน้ำมัน  การหาสูตรที่ลง
ตัวที่สมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยการใช้มาตรการเข้ามากำกับดูแล อาทิ เช่นเมื่อน้ำมันแพงทำให้ ต้นทุนในการผลิตพุ่งสูงขึ้น  รัฐอาจจะเข้ามาอุ้ม โดยหยิบอุตสากรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดมาช่วย เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมนั้นๆล้มหาย  ตายจาก 
                อาจจะอยู่ในรูปแบบของการให้กู้ยื่ม ปลอดดอกเบี้ย  หรือลดภาษี ฯลฯ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถดำเนินกิจการผ่านพันภาวะวิกฤติดังกล่าวไปให้ได้   หรืออาจจะยอมให้ผู้ผลิตขึ้นราคาสินค้าได้ แต่ต้องเป็นราคาที่ตรงกับสภาพความเป็นจริง ไม่เหมือนกับที่ผ่านมา ที่ผลักภาระให้ผู้บริโภคแต่ฝ่ายเดียว
                แต่เมื่อใดที่ภาวะน้ำมันแพงได้รับการคลี่คลายแล้ว ผู้ผลิตจะต้องกลับมายืนในจุดเดิม  เพื่อให้ราคาสินค้าตรงกับสภาพความเป็นจริงในช่วงขณะนั้น
          เขียนเป็นสูตรง่ายๆได้ว่า  ราคาสินค้า =  ต้นทุนสินค้า+กำไร+ภาวะความผันผวนของราคาน้ำมัน
                นั่นถือเป็นการบริหารจัดการแบบวิน-วินได้ทั้ง 2 ฝ่าย
                เพราะคนไทยนั้นเข้าใจว่า เราเป็นประเทศที่ยังต้องพึ่งพาน้ำมัน  ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะน้ำมันแพงนั้น สามารถรับได้ เพียงแต่ว่าไม่ใช่บาปทั้งหมดตกอยู่กับผู้บริโภคเหมือนกับที่ผ่านมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น