วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อาญาสิทธิ์ 24/3/2552


               ช่วงนี้ผมขึ้นศาลบ่อยครับ  เพราะโดนฟ้องร้องเรื่องคดีหมิ่นประมาท ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของคนหนังสือพิมพ์ ทั้งหลายที่โดนฟ้องร้องอยู่ประจำอันเนื่องมาจากข่าวสารที่นำเสนอกับทางหน้าหนังสือพิมพ์ 
                ขึ้นศาลบ่อยๆ เข้าเลยเกิดอาการอินครับ   เพราะไปศาลแต่ละครั้งต้องเสียเวลาประมาณครึ่งค่อนวัน เลยได้เรียนรู้ระบบ กากรทำงานของกลไกยุติธรรมของบ้านเรา ถือว่าเป็นการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสทางหนึ่ง
          ซึมซาบกับความขลังของศาลไทย
                ถ้าพูดถึงผู้พิพากษาในโลกนี้ รับรองว่าเบอร์1 ที่คนไทยได้ยินก็ร้องฮ่อคือ  ท่านเปาปุ้นจิ้น แห่งแดนมังกร เพราะชื่องเสียงกระฉ่อน โด่งดังมาตั้งแต่ผมยังเด็กๆ ตอนนี้ย่างเข้าสู่วัยรุ่นตอนปลาย ยังมีหนังชุดของท่านเปาฯฉายให้คนไทยดูอยู่ทางช่อง 3 
                อาจจะเป็นภาพยนตร์จีนชุดที่ทำซ้ำและนำมาฉาย ทำลายสถิติ "ดาวพระศุกร์"ของเมืองไทยเรา
                ย้อนมองดูประวัติของท่าน เปาบุ้นจิ้น" เป็นข้าราชการชาวจีน มีชีวิตอยู่จริงในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่ง  ท่านเปาฯมีชื่อเสียงมากและเป็นที่สรรเสริญในด้านความซื่อสัตย์และความยุติธรรม กระทั่งต่อมาภายหลังได้รับยกย่องในเอเชียว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมและเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม
                เชื่อมั้ยครับว่า  ผู้คนคิดว่าว่าเปาบุ้นจิ้นเป็นตุลาการ แต่ความจริงแล้วงานตุลาการเป็นหน้าที่หนึ่งในครั้งที่รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
                ในสมัยนั้น เปาบุ้นจิ้นนั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหลายประเภท โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหกเดือนก่อนถึงแก่อสัญกรรม
                เปาบุ้นจิ้นนั้นเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงความเข้มงวดในการปฏิบัติราชการ ความกตัญญูกตเวที และการปฏิเสธความอยุติธรรมและการทุจริตในหน้าที่ราชการชนิดหัวชนฝา ชื่อเสียงดังกล่าวทำให้เปาบุ้นจิ้นกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ยุติธรรม และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วกระทั่งต่อมาได้รับความนับถือเลื่อมใสถึงขนาดยกย่องเสมอเทพเจ้า
                ถ้าเทียบกับยุคสมัยของคนไทยแล้ว เปาบุ้นจิ้นมีชีวิตอยู่ในช่วงก่อนสมัยสุโขทัย ส่วนชื่อ "เปาบุ้นจิ้น" ในไทยเป็นคำอ่านสำเนียงแต้จิ๋ว  เพราะสมัยก่อนชาวจีนส่วนใหญ่ที่อพยพเข้ามาเมืองไทยล้วนแต่เป็นคนแต้จิ๋ว  แต่ถ้าอ่านเป็นสำเนียงจีนกลางว่า "เปาอุ๋นเจิ่ง" หรือ "เปาเหวินเจิ่น "นอกจากนี้ ในไทยเอง คำ "เปาบุ้นจิ้น" หรือ "ท่านเปา" ยังมีความหมายว่า ตุลาการ ศาล หรือผู้พิพากษาอีกด้วย และบางทีก็เจาะจงว่าหมายถึงตุลาการที่เที่ยงธรรมด้วย
                ประโยคหนึ่งที่โด่งดังมาพร้อมกับ เปาปุ้นจิ้น คือกระบี่อาญาสิทธิ์  ซึ่งหมายถึง กระบี่ของสมเด็จพระจักรพรรดิหรือจักรพรรดินีแห่งจีนในสมัยที่ยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ เป็นสัญลักษณ์ของอาญาสิทธิ์ คือ สิทธิที่จะลงอาญาแก่ผู้ใดก็ได้ และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งบำเหน็จความชอบอีกด้วย
                ในอุปรากรจีนหรือที่เราๆท่านๆเรียกกันติดปากว่า งิ้วจีน  ส่วนใหญ่แล้วกระบี่อาญาสิทธิ์มักปรากฏว่าพระราชทานให้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดินแทนพระองค์ รัฐมนตรี แม่ทัพนายกอง หรือตุลาการ ผู้ถือกระบี่อาญาสิทธิ์ย่อมมี "อาญาสิทธิ์" ดังกล่าวเสมอสมเด็จพระจักรพรรดิ สามารถประหารชีวิตผู้กระทำผิดได้ทันทีแล้วจึงค่อยกราบบังคมทูลถวายรายงาน
                ถือเป็นกระบี่ ที่ทรง"อานุภาพ"มากที่สุดในแผ่นดิน
                และแน่นอนครับว่าที่รู้จักกันในไทยมากที่สุดเห็นจะเป็นกระบี่อาญาสิทธิ์ของเปาบุ้นจิ้น  ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิพระราชทานให้เปาบุ้นจิ้นสามารถประหารผู้ใดก็ได้นับแต่สามัญชนจนถึงเจ้าโดยไม่ต้องได้รับพระราชานุญาตก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่หลังจากประหารแล้วให้จัดทำรายงานกราบบังคมทูลทราบพระกรุณาด้วย
                 เป็นที่มาของสำนวนจีนว่า "ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง"
                หลายคนตั้งคำถามว่า ท่านเปาปุ้นจิ้น ใช้พาหนะอะไรในการเดินทาง  คำตอบสุดท้ายออกมาแบบน่าเขกหัวว่า "ใช้รถ แดวู จากแดนกิมจิ เกาหลี"
                โดยหยิบเอาหนังชุดของท่านเปาปุ้นจิ้นทางทีวี ที่ก่อนนั่งบัลลังค์พิพากษาคดี จะต้องมีเสียงร้องโหมโรงว่า"แด วูววววววววว"
                ดังนั้นคาดว่าขุนนาง หรือผู้บริหารงานแผ่นดินที่ฉ้อราษฎร บังหลวง ที่คนจีนเรียกว่า"กังฉิน" ทั้งหลาย  ต่างพากันขยาดเสียงรถแด วู ของท่านเปาฯกันถ้วนหน้า
                เพราะนั่งบัลลังค์เมื่อไหร่ บรรดา"กังฉิน"ทั้งหลาย ต่างต้องตายตกไป หรือไม่ก็ย้ายสำมะโนไปอยู่ในคุก ตามหลักสูตร"ตรงยิ่งกว่าไม้บรรทัด" ของ ตุลาการ
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                กุนซือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น