พอก้าวขึ้นสู่ปีฉลูปุ๊ป บริษัทสกายแทร็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาการวิจัยชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรมการบินและสนามบิน ก็หยิบข้อมูลของสนามบินทั่วโลกขึ้นมายืนเรียงแถว โดยใช้การสำรวจและสอบถามบรรดาผู้โดยสารที่ใช้บริการ
หลังจากกางข้อมูลพร้อมทั้งเดินดูหน้าตาของท่าอากาศยานทั่วโลกแล้ว ก็เคาะตำแหน่งแชมป์ให้กับแชมป์เก่า สนามบินฮ่องกง ซึ่งเป็นแชมป์มาถึง 10 ปีแล้ว
ส่วนรองแชมป์นั้นก็ไม่ใกล้ ไม่ไกล ได้แก่สนามบินชางงี ของสิงค์โปร์ อันดับสาม ยังไม่หนีจากเอเซียไปไหนได้แก่ สนามบินอินชอนของเกาหลีใต้ อันดับสี่คือ สนามบินกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย และอันดับที่ห้าถึงจะข้ามไปแดนยุโรปสนามบินมิวนิกของเยอรมนี
สังเกตมั้ยครับว่า ตำแหน่งสนามบินชั้นนำของโลกนั้น อยู่ในดินแดนเอเชียเป็นส่วนใหญ่
สำหรับสนามบินฮ่องกงนั้น ที่ครองแชมป์มายาวนาน ถึงแม้ตอนเปิดสนามบินครั้งแรกจะมีข่าวเสียชื่อเสียง เกี่ยวกับระบบขนถ่ายกระเป๋าผู้โดยสาร ที่ขัดข้อง จนโกลาหลกันพักใหญ่ แต่ในที่สุดผู้บริหารสนามบิน ก็รีบเร่งแก้ไข เพื่อฟื้นภาพความชื่อมั่นกลับมาโดยเร็ว จนสามารถผงาดขึ้นนำสนามบินอื่น โดยผลการสำรวจสนามบินฮ่องกงนั้น พบว่ามีความโดดเด่นตรงที่การตกแต่งสนามบินใช้ศิลปะน้อยชิ้นแต่มีคุณค่า, การออกแบบทันสมัย, มีศูนย์ช็อปปิ้งที่หรูหราและมีบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย
ส่วนอันดับที่สอง สนามบินชางงี ของเมืองลอดช่องนั้น มีความโดดเด่นตรงที่ทำให้ผู้โดยสารรู้สึกผ่อนคลายด้วยสระน้ำบนหลังคา, สวนกล้วยไม้และต้นปาล์มสูง
ส่วน สนามบินอินชอนของเกาหลีใต้มีความโดดเด่นเรื่องอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม, กระบวนการขาออกของผู้โดยสารกินเวลาไม่เกิน 45 นาที ส่วนสนามบินกัวลาลัมเปอร์ที่ออกแบบโดยชาวญี่ปุ่น มีความโดดเด่นเรื่องการออกแบบที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีอนาคตเข้ากับวัฒนธรรมมาเลเซียและทรัพยากรธรรมชาติท่ามกลางป่าเขตร้อนบริเวณกลางอาคารผู้โดยสาร
เหรียญต้องมี 2 ด้านมีเขาจัดอันดับสนามบินยอดเยี่ยมแล้ว เป็นธรรมดาที่ต้องจัดอันดับสนามบินยอดแย่ควบคู่กันไปด้วย
ส่วน สนามบินอินชอนของเกาหลีใต้มีความโดดเด่นเรื่องอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม, กระบวนการขาออกของผู้โดยสารกินเวลาไม่เกิน 45 นาที ส่วนสนามบินกัวลาลัมเปอร์ที่ออกแบบโดยชาวญี่ปุ่น มีความโดดเด่นเรื่องการออกแบบที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีอนาคตเข้ากับวัฒนธรรมมาเลเซียและทรัพยากรธรรมชาติท่ามกลางป่าเขตร้อนบริเวณกลางอาคารผู้โดยสาร
เหรียญต้องมี 2 ด้านมีเขาจัดอันดับสนามบินยอดเยี่ยมแล้ว เป็นธรรมดาที่ต้องจัดอันดับสนามบินยอดแย่ควบคู่กันไปด้วย
สำหรับตำแหน่งสนามบินที่ไม่มีใครอยากได้ เพราะถือเป็นตำแหน่งโบว์ดำ นั้นจัดเรียงอันดับได้ต่อไปนี้ครับ แชมป์สนามบินยอดแย่ อันดับหนึ่งได้แก่ สนามบินอิรักเพราะเป็นเขตสงคราม
รองแชมป์ต่อมาคือสนามบินอินทิรา คานธีของอินเดีย อันดับสามได้แก่ สนามบินลุคลาของเนปาลเพราะหวาดเสียวทั้งขึ้นและลง โดยเฉพาะตอนขึ้นนั้นต้องเชิดหัวขึ้นอย่างกะทันหันเพราะสุดทางวิ่งของเครื่องบินคือขอบเหว
อันดับสี่ สนามบินลีโอโพล เซดาร์ เซงงอร์ ของเซเนกัล
อันดับห้า ที่ทำให้เมืองลุงแซมต้องเสียหน้าคือ สนามบินลอสแองเจลิสของสหรัฐอเมริกา เมื่อลุงแซมหน้าแหกไปแล้ว เพื่อนรักอย่างเมืองผู้ดีอังกฤษ ก็เลยต้องตามมาติดๆด้วยอันดับที่ 6 สนามบินลอนดอนฮีทโธรว์ของอังกฤษ
ยักษ์ใหญ่ของโลกอีกคนมาในอันดับที่ 7 สนามบินชาร์ลส์ เดอ โกล กรุงปารีสของฝรั่งเศส โดยสนามบินชาร์ลส์ เดอโกลนั้น ขึ้นชื่อว่าพนักงานมีความหยาบคาย, การวางแผนผังของอาคารและสนามบินมีความสับสนและราคาอาหารแพงเกินเหตุ
สรุปแล้ว ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายเข้าคิว “บริการยอดแย่” กันเป็นทิวแถว
อยากรู้มั้ยครับว่า สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินหลายแสนล้านบาทของคนไทย แถมยังเป็นสนามบินที่มี”ที่สุดในโลก”อยู่หลายส่วน จะอยู่ในเกณฑ์ไหน พรุ่งนี้ต้องมาว่ากันต่ออีกวันครับ
กุนซือ
กุนซือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น